กระแสตอบรับ ของ แบล็ค ฮอว์ค ดาวน์: ฝ่าสมรภูมินรกโซมาเลีย

งานเขียนของเขาเป็นที่ยอมรับอยู่แล้วโดยเฉพาะในแง่ของความพยายามที่จะอธิบายในเรื่องของบริบททางการเมืองท้องถิ่น และบริบทของการเมืองระหว่างประเทศ รวมไปถึงอธิบายว่าจากภารกิจเพื่อรักษาสันติภาพธรรมดาทั่วไปทำไมถึงพัฒนาขึ้นไปสู่ความขัดแย้งที่ต้องใช้อาวุธ ซึ่งต่อมามันถูกเรียกว่า โมกาดิชูไลน์ (Mogadishu Line)[1] จากรายงานของ เดอะนิวยอร์กไทมส์ ชิ้นหนึ่ง พบว่ามาร์คสามารถถ่ายทอดการต่อสู้ครั้งนี้ได้อย่างน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในระดับนาทีต่อนาทีของปฏิบัติการโดยกองกำลังสหรัฐในโมกาดิชู หรือที่รู้จักกันใจชื่อของยุทธการที่ทะเลดำ โดยรายงานของนิวยอร์กไทมส์ได้เสริมอีกว่ามาร์คได้เปลี่ยนมุมมองของเรื่องอย่างรวดเร็วหลังจากที่กองกำลังทางพื้นดินของสหรัฐเดินทางเข้ามายังเขตเมือง และพยายามแยกตัวผู้นำของไอดิดออกมา จนกระทั่งเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้น ภารกิจนั้นจึงเปลี่ยนเป็นการกู้ภัยกองกำลังของสหรัฐเอง[1] นอกจากนี้รายงานระบุว่า มาร์คสามารถบรรยายได้ถึงอารมณ์และความรู้สึกวิตกกังวลทั้งของทหารและพลเรือนในสถานการณ์ที่กดดันจากการปิดล้อม และรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ที่รู้สึกไม่พอใจและกล่าวโทษกลุ่มทหารเรนเจอร์ว่าเป็นสาเหตุของผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จากการปะทะ[1]

หนังสือเล่มนี้ได้เข้าสู่รอบสุดท้ายในการประกวดรางวัลหนังสือแห่งชาติสาขาสารคดีของสหรัฐในปี พ.ศ. 2552[8]

ใกล้เคียง

แบล็คเฮด แบล็คโคลเวอร์ แบล็กอายด์พิลซึง แบล็ควานิลลา แบล็ค วิโดว์ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2564) แบล็ค แพนเธอร์ (ภาพยนตร์) แบล็กอายด์พีส์ แบล็ค แพนเธอร์: วาคานด้าจงเจริญ แบล็ค ฮอว์ค ดาวน์: ฝ่าสมรภูมินรกโซมาเลีย แบล็คเบอร์รี (โทรศัพท์มือถือ)

แหล่งที่มา

WikiPedia: แบล็ค ฮอว์ค ดาวน์: ฝ่าสมรภูมินรกโซมาเลีย https://web.archive.org/web/20001017200256/https:/... https://www.nytimes.com/books/99/03/14/reviews/990... https://online.fliphtml5.com/errk/tzqz/ https://web.archive.org/web/20181028065309/http://... http://www.nationalbook.org/awards-prizes/national... https://web.archive.org/web/20150414004747/https:/... http://niemanreports.org/articles/narrative-journa... https://web.archive.org/web/20110210191125/http://... https://archive.org/details/blackhawkdownsto0000bo... https://web.archive.org/web/20211219033628/https:/...